มหาวิทยาลัยของรัฐ

มหาวิทยาลัยของรัฐ

หรือก็คือสถาบันอุดมศึกษาภายใต้การกำหนด ควบคุม และดูแลของรัฐบาล ซึ่งอาจมีความน่าเชื่อถือกว่ามหาวิทยาลัยเอกชน มีทั้งมหาวิทยาลัยเปิดที่ไม่ต้องมีการสอบเข้า และมหาวิทยาลัยปิดซึ่งต้องสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อ ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ประเภท

  1. มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ได้ผลักดันตัวเอง “ออกนอกระบบ” หรือก็คือมีระบบจัดการอิสระ แยกออกจากราชการ ที่เป็นไปตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่จัดให้สถาบันการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล และอาจจัดเป็นหน่วยงานหรือส่วนราชการ ทั้งนี้ เพื่ออิสระและความคล่องตัวในการจัดการ ทั้งด้านการเรียนการสอน การบริหารงานบุคคล และด้านการเงิน แต่ยังคงมีสถานภาพเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างเช่น จุฬาลงกรณ์ ม.เชียงใหม่ ม.มหิดล ม.แม่ฟ้าหลวง
  2. มหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ แบ่งออกเป็น
  3. มหาวิทยาลัย
  4. ราชภัฐพระนคร
  5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

ที่ยังคงมีส่วนเป็นราชการ ส่วนการปกครอง หรือการบริหารทั้งหมด ยังเป็นแบบระบบข้าราชการ เจ้าหน้าที่หรือผู้บริหาร ยังต้องได้รับการแต่งตั้งจากสภา หรือหน่วยงานอุดมศึกษา ตัวอย่างมหาวิทยาลัย เช่น ม.ข่อนแก่น ม.นเรศวร ม.แม่โจ้ ราชภัฐกาญจนบุรี เทคโนโลยีราชมงคล

ถึงแม้มหาวิทยาลัยทั้ง 2 แบบ อาจมีระบบจัดการต่างกัน แต่ในส่วนของค่าใช้จ่าย ยังได้รับการควบคุม ทำให้ถูกกว่าของเอกชน และยังคงความน่าเชื่อถือของสถาบันไว้ได้